การเขียนโปรแกรม(programming)
การเขียนโปรแกรมหมายถึง
กระบวนการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อกำหนดโครงสร้างของข้อมูลและกำหนดขั้นตอนวิธีเพื่อใช้แก้ปัญหาที่ได้ออกแบบไว้โดยอาศัยหลักเกณฑ์การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์แต่ละภาษา
ภาษาโปรแกรมคืออะไร?
การเขียนโปรแกรมสามารถแบ่งออกเป็น 3 แบบได้แก่
1.การเขียนโปรแกรมโครงสร้าง (Structure Programming)
คือ การกำหนดขั้นตอนให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงาน โดยมีโครงสร้างการควบคุมพื้นฐาน 3 หลักการ ได้แก่ การทำงานแบบลำดับ ( Sequence ) การเลือกกระทำตามเงื่อนไข( Decision ) และการทำซ้ำ ( Loop )
2.การเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ (Object-oriented Programming : OOP)
คือวิธีการเขียนโปรแกรม โดยอาศัยแนวคิดของวัตถุชิ้นหนึ่ง มีความสามารถในการปกป้องข้อมูล และการสืบทอดคุณสมบัติ ซึ่งทำให้แนวโน้มของ OOP ได้รับการยอมรับและพัฒนามาใช้ในระบบต่าง ๆ มากมาย เช่น ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ เป็นต้น
3.การเขียนโปรแกรมเชิงจินตภาพ (Virus Programming)
คือการพัฒนาโปรแกรมที่ผู้เขียนโปรแกรมสามารถมองเห็นผลลัพธ์ของงาน เมื่อมีการกระทำการโปรแกรมได้ตั้งแต่ขณะพัฒนาโปรแกรม โดยไม่จำเป็นต้องรอให้การพัฒนาเสร็จสมบูรณ์ โดยตัวแปลภาษาได้เตรียมสิ่งแวดล้อมในการทำงาน (development environment) และเครื่องมือ หรือชิ้นส่วนที่ผู้พัฒนาต้องใช้ในการสร้างงานไว้ให้สามารถเรียกใช้งานได้ โดยที่ไม่ต้องลงมือสร้างเอง เครื่องมือหรือชิ้นส่วนที่ระบบเตรียมไว้ให้
ขั้นตอนการเขียนโปรแกรม(Programming Methodology)
1.การวิเคราะห์ปัญหา (Problem salving)
คือการทำความเข้าใจกับปัญหาเพื่อแยกให้ออกว่าข้อมูลที่กำหนดมาในปัญหาหรือเงื่อนไขของปัญหาคืออะไร และสิ่งที่ต้องการคืออะไร อีกทั้งวิธีการที่ใช้ประมวลผล ในการวิเคราะห์ปัญหาใด
2. การออกแบบโปรแกรม (Program Design)
คือการออกแบบขั้นตอนวิธีในการแก้ปัญหา ผู้แก้ปัญหาควรใช้แผนภาพหรือเครื่องมือในการแสดงขั้นตอนการทำงานเพื่อให้ง่ายต่อความเข้าใน เช่น ผังงาน (flowchart) ที่จำลองขั้นตอนวิธีการแก้ปัญหาในรูปของสัญลักษณ์ รหัสลำลอง (pseudo code) ซึ่งเป็นการจำลองขั้นตอนวิธีการแก้ปัญหาในรูปของคำบรรยาย
3. การเขียนโปรแกรม (Program coding)
คือการดำเนินการแก้ปัญหา (Implementation) หลังจากที่ได้ออกแบบขั้นตอนวิธีเรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่ต้องลงมือแก้ปัญหาโดยใช้เครื่องมือที่ได้เลือกไว้ หากการแก้ปัญหาดังกล่าวใช้คอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยง่าน ขั้นตอนนี้ก็เป็นการใช้โปรแกรมสำเร็จหรือใช้ภาษาคอมพิวเตอร์เขียนโปรแกรมแก้ปัญหา ขั้นตอนนี้ต้องอาศัยความรู้เกี่ยวกับเครื่องมือที่เลือกใช้ซึ่งผู้แก้ปัญหาต้องศึกษาให้เข้าใจและเชี่ยวชาญ ในขณะที่ดำเนินการหากพบแนวทางที่ดีกว่าที่ออกแบบไว้ก็สามารถปรับเปลี่ยนได้
4. ทดสอบโปรแกรมและแก้ข้อผิดพลาด (Program testing and Debugging)
คือการตรวจสอบและปรับปรุง (Refinement) หลังจากที่ลงมือแก้ปัญหาแล้ว ต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่าวิธีการนี้ให้ผลลัพธ์ที่ถูกต้อง โดยผู้แก้ปัญหาต้องตรวจสอบว่าขั้นตอนวิธีที่สร้างขึ้นสอดคล้องกับรายละเอียดของปัญหา
คริปสรุปพื้นฐานการเขียนโปรแกรม
ประโยชน์ของการเขียนโปรแกรม
ตัวอย่างโปรแกรมประยุกต์ที่ใช้ในชีวิตประจำวัน
คุณสมบัติของผู้ที่จะเป็นโปรแกรมเมอร์
สาขาวิชาที่มีการเรียนการสอนการเขียนโปรแกรม
จบไปแล้วทำงานอะไร
- วิศวกรวางระบบคอมพิวเตอร์
- วิศวกรดูแลเครือข่ายระบบคอมพิวเตอร์
- ผู้ผลิตและพัฒนาอุปกรณ์คอมพิวเตอร์
- Security System คอยคุ้มกันฐานข้อมูลสำคัญให้แก่หน่วยงานต่างๆ
- กราฟฟิคดีไซเนอร์ ออกแบบและเขียนคำสั่งการทำงานของกราฟฟิคต่างๆ
- ที่ปรึกษาด้านคอมพิวเตอร์
- เซลส์หรือฝ่ายการตลาดด้านธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น